วิธีลบไฟล์ใน Linux แบบรวดเร็ว

รู้หรือไม่ Rsync สามารถลบได้ไวกว่า rm เกิน 10 เท่า สำหรับแอดมินที่พบว่าการลบไฟล์ใน LInux หรือ Unix ด้วย rm เป็นเรื่องน่าเบื่อเพราะใช้เวลาในการลบนานมากสำหรับไดเรคตอรี่ที่มีไฟล์มากๆ

การลบด้วย Rsync

เริ่มจากการสร้าง directory เปล่าๆขึ้นมาด้วยคำสั่ง mkdir ปกติ

mkdir empty_dir

ทำการ rsync empty_dir ไปที่ directory ปลายทาง ด้วย option –delete

rsync -a --delete empty_dir/    yourdirectory/


อยากลบเร็วกว่าเดิมสามารถเปลี่ยนมาใช้ perl ได้

cd yourdirectory
perl -e 'for(<*>){((stat)[9]<(unlink))}'

Perl สามารถลบได้ไวกว่า rsync อีกระดับนีง แต่ส่วนตัวผมชอบใช้ rsync มากกว่าเพราะบางครั้งเวลาเรากดลูกศรขึ้นเพื่อเรียกคำสั่งเดิม อาจจะพลาดไปโดนคำสั่ง perl ที่เราเอาไว้ลบไฟล์ ในไดเรคตอรี่ที่เราไม่ต้องการ ทำให้ file ใน path นั้นหายไปทั้งหมด เช่นเดียวกับการใช้ rm -rf ก่อนจะใช้คำสั่งนี้ต้องเช็คให้ดีว่าเราอยู่ใน path ที่ถูกต้อง

เริ่มต้นเตรียมตัวปลูกสวนป่า

หลังจากได้เริ่มศึกษาการปลูกต้นไม้ยืนต้น เพื่อใช้เนื้อไม้ เห็นว่าเป็นประโยชน์ดีจึงทำให้อยากจะแบ่งปันข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ พืชเศรษฐกิจ หวังว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ และเป็นเนื้อหาและข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ที่ไม่เคยลงมือปลูกสวนป่ามาก่อน

ปลูกสวนป่า ไม้ยืนต้นพืชเศรษฐกิจ เป็นการคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับโลกและยังสามารถสร้างเงินก้อนในระยะยาว

เลือกประเภทต้นไม้ยืนต้นตามการเจริญเติบโต

ประเภทของไม้ยืนต้นตามการเติบโต แยกต้นไม้เป็นสามประเภท โตช้าโตเร็ว ตัดก่อน 7 ปี ต้องทำการสางออกเพื่อให้ต้นไม้ยืนต้นโตช้าอื่นๆ โตตามขึ้นมา หากไม่ตัดออกแล้วปล่อยให้ขึ้นกันถี่ๆ อาจจะได้ต้นไม้เล็กแล้วเสียหายไปทั้งแปลง

  • กระถินต่างๆ
  • สะเดา
  • คูณ
  • ตะกู
  • ขี้เหล็ก
  • สักทอง

ต้นไม้ยืนต้นแบบไหนใช้ทำอะไรบ้าง

มะฮอกกานี ราคาสูงกว่าสัก แพงกว่าพะยูง เนื้อไม้เหมาะใช้ภายใน ไม่ทนน้ำ
ตะกู เนื้ออ่อน เนียนละเอียด ต้นตรง ห้าปีตัด ทำโต๊ะ สร้างบ้าน รับน้ำหนักได้ ทำเสาไม่ได้
ยางนา ต้นตรง
เพกา ลิ้นฟ้า เนื้อเหนียว แพง 12 ปีขายสองหมื่นกว่า อบแล้วเบา ใบพัดต่างๆ เพราะเสี้ยนยาว ทนแรงเฉือนได้สูง
มะหาด ใช้ทำเสา อายุนาน เนื้อหยาบ 20 ปี
มะค่าโมง มะค่าแต้
หมาก ข้าวยาก หมากแพง ขายได้ราคาดี ชอบชื้นมาก
ประดู่ป่า ทนทาน ทนแล้ง ราคาดี
พะยอม ไม้สวย ดอกหอมทนแล้ง
อุโลก ใช้แกะสลัก ไม้ได้สวย
พะยูง แดงจีน โตช้ามากกก ยี่สิบปี ปลูกไม่ต้องเยอะเพราะรอบช้า
ยมหอม สิบปีต้นใหญ่มาก ทำเรือใบได้ โตเร็ว ลายสวย ทำเพดาน เครื่องดนตรี
จำปาทอง ยี่สิบปี ทรงเหมือนยางนา ต้องการดูแลสามสี่ปี ดูแลยาก ขาดน้ำตายเลย ทนชื้น แต่ไม่ทนแล้ง ภาคใต้เยอะ ทนมาก ไม่ผุ ไม่ยืดหด

ต้นไม้ป่า ตระกูลถั่วให้ไนโตรเจน

พืชตระกูลถั่วหรือไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว มีความสามารถในการดึงไนโตรเจนจากอากาศมาเก็บไว้ในรากจึงช่วยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับต้นไม้ต้นอื่นอื่น

กฐินเทพา อาคาเซีย
ขี้เหล็ก
มะก่ำ
พะยุง (โตช้า)
มะขามเทศ

ต้นไม้ตระกูลถั่วสามารถให้ปุ๋ยและเป็นเพื่อนพี่เลี้ยงที่ดีให้กับต้นไม้ขนาดเล็กหรือต้นไม้โตช้าต่างๆ ที่จังหวัดสระบุรีจะนิยมปลูกมะขามเทศไว้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้กับต้นผักหวาน เพราะมะขามเทศโตเร็วช่วยให้ร่มเงากับต้นผักหวาน เกษตรกรนิยมปลูกกันแบบนี้เหมือนเป็นสูตรสำเร็จ เมื่อผักหวานตั้งต้นได้ก็สามารถเก็บยอดไปขายทำรายได้เป็นล่ำเป็นสัน

ต้นไม้ยืนต้น ไม้มงคล ปลูกแล้วมีแต่ดี

ไม้มงคล 4 ชนิดของประเทศไทย ที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นของมีค่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
อุโลก โมกมัน กันเกรา สัก
ไม้มงคลใช้แกะสลักของสูง ใช้ตามงานพิธีต่างๆในวัง

ไม้ยืนต้นโตช้าจะมีพวกของป่าให้เก็บกิน หรือเหลือไว้ขาย เช่นผักหวาน ตำลึง เห็ดต่างๆ ตามโคนต้น

การปลูกต้นไม้ยืนต้นควรเว้นห่างเท่าไหร่ หนึ่งไร่ได้กี่ต้น

ปลูกต้นไม้ควรห่างจากเขตแดนประมาณ 2 เมตรแต่ตามความเป็นจริงควรจะต้องห่างเยอะกว่านั้นประมาณ 6-8 เมตรกำลังดี เพื่อความสะดวกในการเข้าทำงาน ให้รถวิ่งรอบที่ได้ ใช้วิธีล้อมรั้วเอาก็ได้

วิธีคำนวณเนื้อที่ 1 ไร่ปลูกได้กี่ต้นระยะห่างคูณกันเช่น 4 คูณ 4 ได้ 16 เอาไปหา 1,600 ตารางเมตรก็จะปลูกได้ 100 ต้น ง่ายๆแค่นี้แหละ ถ้าปลูกถี่มากเช่น 2 คูณ 2 ไม้ยืนต้นมันจะโตแค่รอบนอกใช้งานได้จริงๆแค่รอบๆนอกของแปลงปลูก สรุปแล้วเหลือไม่กี่ต้น เสียเวลาไปเปล่า

รอบนอกปลูกถี่หน่อยไม่เป็นไร ช่วงตรงกลางต้องเว้นห่างมากเพราะต้นไม้มันจะไม่ได้รับแสง ปลุกถี่ก็ได้แต่ว่าเมื่อถึงเวลาต้องตัดทิ้ง ห้ามปล่อยไว้ให้มันโตขึ้นมาเพราะว่าต้นไม้เวลามันแก่แล้วมันจะโตช้า ก็เหมือนเสียไปทั้งแปลงเลย ควรวางแผนการปลูกให้ดีเพราะว่าการเว้นระยะปลูกที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เสียเวลาไปนานมากไม่สามารถแก้ไขได้ นอกเสียจากว่าต้องการปลูกเป็นไม้ล้อมก็สามารถปลูกถี่ได้

ควรปลูกไล่ระดับความสูงด้วย

การะดับความสูงทำให้ต้นไม้โตได้ดีและยังให้ความสวยงามกับสวนป่าของเรา เช่นพื้นที่ลุ่มมีน้ำมาก ต้นยางนาสูงมากปลูกก่อน ถัดลงมาเป็นตะเคียนเป็นกันเกรา อันนี้เป็นส่วนที่ลุ่ม
ถ้าเป็นที่ดอน ก็ปลูกต้นสักไว้สูงสุดรองมาเป็นพะยุง รองมาเป็น ประดู่ ในแปลงเดียวกันถ้ามีทั้งที่ลุ่มและที่ดอนก็สามารถเอามาสลับกันได้ ต้นไม้มีหลายชนิดควรปลูกให้ตรงตามลักษณะพื้นที่ ปลูกผิดที่ไม่ตายก็โตช้า

ประโยชน์ของไม้ยืนต้นโตช้าคือมันไม่มีกำหนดเวลา เวลาตัดไม่ต้องรีบตัด ยิ่งโตยิ่งได้ราคา และสามารถกำหนดราคาเองได้

ปลูกต้นไม้ป่าในระยะเริ่มต้นต้องดูแลอย่างไร ?


ปลูกต้นไม้ระยะ 3 ปีแรก เริ่มปลูกต้นหน้าฝน หลังจากนั้น 3 เดือนให้ไปถางหญ้าออกรอบๆโคนต้น หลังจากนั้นอีก 3 เดือนให้เอาหญ้าออกอีกครั้ง พอเริ่มเข้าหน้าหนาวปล่อยไปเลย ไม่ต้องไปเอาหญ้าออกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดิน ให้หญ้าคลุมดินไว้ แล้วมาทำอีกทีเมื่อพ้นหน้าแล้งแล้ว ให้เอาหญ้าออกอีกครั้ง ถ้ามันตายมีต้นไม้ตาย เราก็ปลูกซ่อมหน้าฝน แล้วก็ทำหรอบเดิมเหมือนเดิมอีกครั้ง สิ่งที่ต้องระวังคือ
1 อย่าให้หญ้าสูงจนขึ้นพันต้นไม้ของเรา ต้นไม้ต้นเล็กๆถ้าโดนหญ้าพันจะตายได้เลย
2 ไม่ให้โดนยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหญ้าจะฆ่าพวกไส้เดือนต่างๆในดินทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
3 ไม่ให้ไฟไหม้น้ำท่วม
4 ไม่ให้ขาดน้ำหน้าแล้ง
พอพ้น 3 ปีแล้วก็ไม่ต้องดูแลแล้ว

tree photo

ภาคใต้สามารถติดต่อรับต้นพันธุ์กล้าไม้ได้แล้ว

เอกสารติดต่อรับต้นไม้ที่หน่วยเพาะชำกล้าไม้ประจำจังหวัด ตอนนี้รับได้แล้ว 14 จังหวัดภาคใต้

บัตรประชาชน 2 ชุด หรือมอบอำนาจ
สำเนาเอกสารการถือครองที่ดินโฉนดสปกทบ 5
แผนที่ที่ดินพอสังเขป
สามารถมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินไปดำเนินการได้

สถานีเพาะชำกล้าไม้ตรังอำเภอช่องตำบลนาโยง
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกระบี่ อำเภอทับกฤช

ไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพ

การปรับสมดุลกรองชีวภาพของกรอง เพื่อการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนอะไร สามารถทำได้หลายวิธี เรามาเริ่มจากพื้นฐานกันก่อน

แอมโมเนียเป็นอันตรายต่อปลา

ของเสียที่ขับออกจากตัวปลา เช่นพวกขี้ปลา เมือกต่างๆของปลาที่ถูกขับออกมา หรืออาหารที่ปลากินไม่หมด เป็นตัวตั้งต้นของแอมโมเนียที่เกิดขึ้น แอมโมเนียพวกนี้เป็นอันตรายต่อปลาโดยตรง โดยจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของปลา โดยเฉพาะส่วนเหงือกและไต ทำให้ปลาโตช้าและมีภูมิต้านทานต่ำ

แอมโมเนียสามารถถูกกำจัดออกไปได้ด้วยแบคทีเรียดี ชื่อ Nitrosomonas sp. แบคทีเรียนี้จะอยู่บนพื้นที่ผิวภายในตู้ อาหารของมันคือแอมโนเนีย หลังจากมันทำการย่อยแอมโมเนียแล้ว สี่งที่ได้คือ ไนไตรท์ ซึ่งจะมีแบคทีเรียประเภทที่สอง Nitrobacter sp. ใช้ไนไตรท์เป็นอาหาร แล้วปล่อยไนเตรทออกมา ซึ่งจะทำให้วงจรสมบูรณ์ เพราะไนเตรทเป็นอันตรายกับปลาน้อยกว่าสองตัวที่กล่าวไปคือ ไนไตรท์และแอมโมเนียมาก

แบคทีเรียดีทั้งสองชนิด จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีแอมโมเนีย และออกซิเจน

Nitrogen Cycle สำคัญอย่างไร

ต้องมารู้จักไนโตรเจนไซเคิลก่อน ของเสียที่ออกมาจากปลาหรือเศษอาหารที่หมักหมมในตู้จะถูกย่อยสลายกลายเป็นแอมโมเนีย แล้วจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียอีกประเภทหนึ่ง เพื่อแปลงเป็นไนไตรท์ และอีกครั้งเป็น ไนเตรท

NH3 > NO2 > NO3
แอมโมเนีย > ไนไตรท์ > ไนเตรท

สารที่มีอันตรายกับปลามากคือ แอมโมเนีย NH3 และไนไตรท์ NO2 ส่วนไนเตรทจะมีอันตรายกับปลาน้อยถ้าความเข้มข้นไม่สูงมากเกินไป

ไนโตรเจนไซเคิล สร้างได้ยังไง

การเกิดไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแบคทีเรียดีที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยแบคทีเรียดีจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการให้อาหารมัน ซึ่งอาหารของมันก็คือแอมโมเนีย NH3 แอมโมเนียจะได้จากการที่ปลาขับของเสียออกหรือจากอาหารปลา ซึ่งเป็นแบคทีเรียชั้นดี เมื่อมีอาหาร แบคทีเรียจะเกิดขึ้นเองตากธรรมชาติ ตามพื้นที่ผิวที่มีในตู้ปลา เช่น ผิวตู้ หิน หัวทราย และที่มากที่สุดคือในวัสดุกรอง ที่เราจะเห็นเป็นคราบสีดำหรือสีน้ำตาล ในตู้ปลาที่ได้มีการไซเคิลแล้ว

ไนโตรเจนไซเคิลที่สมบูรณ์ต้องใช้เวลาเพราะการเปลี่ยนจาก ไนไตรท์เป็นไนเตรทก็จะต้องใช้แบคทีเรียอีกประเภทนึง ซึ่งจะกินของเสียจากแบคทีเรียชนิดแรก สิ่งที่เราทำได้ก็คือรอเวลา

โดยทั่วไประบบไนโตรเจนไซเคิลจะเข้าที่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์ที่อุณหภูมิ 25 องศา และจะช้าลงอีกถ้าน้ำมีอุณหภูมิต่ำ

ต้องใช้เวลาในการสร้างระบบกรองชีวภาพ

Nitrosomonas จะขยายตัวเป็นสองเท่าในเวลา 6 ชั่วโมง และ Nitrobacter ใช้เวลา 13 ชั่วโมง แบคทีเรียดีพวกนี้ขยายพันธ์ได้ช้ามาก ถ้าเทียบกับแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค เช่น เชื่อ E.coli ที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จาก 1 เซลสามารถขยายเป็น 35ล้านล้านเซล ภายใน 6 ชั่วโมง

โดยปกตินักเลี้ยงปลาจะอยากเริ่มเลี้ยงทันทีแต่ไม่อยากรอ
การสร้างระบบกรองชีวภาพสามารถทำได้เลยตั้งแต่วันแรกที่เลี้ยง ไม่จำเป็นต้องรอให้ระบบกรองเข้าที่ก่อนเพื่อลงปลา แต่จะต้องทำการถ่ายน้ำใหม่เรื่อยๆ เพื่อลดระดับของเสียที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบกรองชีวภาพจะเข้าที่ โดยการไซเคิลระบบกรองแบบนี้จะใช้เวลานานมากเนื่องจากแบคทีเรียจะเกิดขึ้นได้น้อย อาจจะใช้เวลาถึง 8 สัปดาษ์ระบบถึงจะเข้าที่

ควรให้อาหารแต่น้อยในช่วงที่ระบบยังไม่เข้าที่ เพราะปลาขับของเสียตลอดเวลาทั้งทางเมือกและเหงือก แม้จะไม่ได้กินอาหาร การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้แอมโมเนียในตู้มีมากจนเป็นอันตรายต่อปลา

Image by kasiejb