Tag Archives: featured

ปลาทองกินอะไรได้บ้าง

ปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารอะไรก็ได้เกือบทุกอย่าง ถึงขนาดมีคนกล่าวว่ามันเป็นปลาที่กินทุกอย่างที่เข้าปากมันได้พอดี

Goldfish would eat everything that fits in their mouth

ปลาทองสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์

แต่ไม่ใช่อาหารทุกอย่างที่ปลาทองกินได้จะมีประโยชน์ดีกับเค้า ปลาทองควรได้รับอาหารที่สมดุลด้วยหลักการง่ายๆ

  • อาหารปลาสำเร็จรูปคุณภาพดี อาหารเม็ด อาหารเจล
  • พืชผักที่มีเส้นใย เช่น ถั่วลันเตาแกะเปลือก ผักกาดหอม
  • อาหารสดจากธรรมชาติ เช่น หนอนแดง ไรแดง ไส้เดือน กุ้งฝอย

อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาทอง

ปลาทองสามารถเลี้ยงได้ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่เป็นรูปแบบของเม็ดทั้งเม็ดจม เม็ดลอย หรือแบบเจล อาหารสำเร็จรูปคุณภาพดีจะต้องมีส่วนผสมที่สมดุลของ โปรตีน ไขมัน คาโบไฮเดรต และวิตามิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับปลาทอง

อาหารสำเร็จรูปพวกนี้เหมาะจะให้ปลากินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป หรือให้ในปริมาณที่ปลาสามารถกินหมดได้ภายใน 1 นาที วันละครั้ง

การให้อาหารสำเร็จรูปมากเกินไปอาจทำให้ปลาป่วยเป็นโรคถุงลม (swim bladder) ได้อาหารของปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้คือจะเสียการทรงตัว ไม่สามารถควบคุมการว่ายไปมาได้ปกติ

sweet pea photo

พืชผักที่มีเส้นใยเหมาะกับปลาทอง

การให้อาหารประเภทพืชผักที่มีเส้นใยในตู้จะช่วยให้ลำไส้ของปลาทำงานได้ดีขึ้น สังเกตุว่าปลาทองที่เลี้ยงในบ่อดิน หรือบ่อที่มีพืชธรรมชาติจะไม่ค่อยพบปัญหาเสียการทรงตัว เหมือนกันเลี้ยงในตู้ เพราะในบ่อมีอาหารธรรมชาติที่หลากหลายให้ปลาได้กินเล่นอยู่ตลอดเวลา

ปลาทองสามารถหาอะไรกินเล่นได้ตลอดเวลา เค้าสามารถกินได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่ในระบบปิด หรือตู้ปลาเรา จะให้อะไรทดแทนดี

ไม่ยากเลย

เราสามารถให้พืชผักที่หาได้ง่ายทดแทนได้ เช่นผักกาด ผักโขม ผักที่มีใบค่อนข้างนิ่ม ล้างสะอาด หรือเลี้ยงพืชน้ำเช่นสาหร่ายประเภทต่างๆ ให้ปลากินเล่นได้

การให้ผักกับปลาทองเราควรทำการนำผักที่เหลือออกทุกวันหรือในสองวัน เพื่อป้องกันเรื่องคุณภาพน้ำ

คุณอาจจะรู้สึกแปลกใจว่าทำไมปลาทองของคุณถึงไม่กินผักพวกนี้ทันทีเมื่อใส่ลงไปครั้งแรก มันก็เหมือนกับคนที่เคยทานแต่เนื้อ แล้วเปลี่ยนมา ทานมังสวิรัตินั่นแหละ

อาจใช้เวลาหลายวันเพื่อให้ปลาทองของคุณเริ่มกินผักที่คุณให้ลงไป แต่รับรองว่ามันเป็นผลที่คุ้มค่าเมื่อคุณได้เห็นมันสนุกสนานกับผักสดๆนั้น และสุขภาพของปลาก็จะแข็งแรงขึ้น หรืออีกเทคนิคหนึ่งคือลองนำผักไปทำให้นิ่มดูก่อนอาจจะเอาไปใส่ในหม้อหุงข้าว แล้วค่อยเอามาใส่ให้ปลาลองกิน แต่ผักที่ผ่านการนึ่งแล้วอาจจะเสียไวควรรีบนำออกจากตู้ภายในหนึ่งวัน

ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่ประโยชน์สูงมาก มีโปรตีนสูง และช่วยในเรื่องท้องอืด หรือโรคที่เกี่ยวกับถุงลมของปลาได้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถซื้อถั่วลันเตาแช่แข็งที่เป็นเม็ดกลมๆ ใส่ถ้วยเล็กๆแล้วนำไปไว้ในหม้อหุงข้าว จากนั้นเอามาแกะเปลือกออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆให้ปลาทองกินได้เลย

อาหารสดอื่นๆสำหรับปลาทอง

อาหารสดอื่นๆเช่นหนอนแดงทั้งแบบแช่แข็งและไม่ใช่แข็ง ไรแดง ไส้เดือนต่างๆ เป็นอาหารสุดโปรดสำหรับปลาทอง ปลาทองชอบอาหารสดพวกนี้มากสามารถให้ในช่วงเวลาที่ปลามีความเครียดไม่ยอมทานอาหาร

การให้อาหารสัตว์ประเภทนี้ต้องให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อต่างๆได้ หนอนแดงแช่แข็งก็เป็นทางเลือกที่ดีเพราะว่าได้ผ่านการฆ่าเชื้อจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว

WordPress Long URL ภาษาไทย แบบไม่ต้องลงปลั๊กอิน

ทำอย่างไรดีเมื่อ wordpress ตัดชื่อ URL ภาษาไทยของเรา ปัญหาการตั้งชื่อ URL ภาษาไทยใน wordpress ไม่สามารถตั้งให้ยาวตามที่เราต้องการได้ เนื่องจาก wordpress มีค่าเริ่มต้นจำกัดความยาวไว้ที่ 200 character ซึ่งไม่เหมาะกับภาษาไทยเท่าไรนัก

การแก้ให้ wordpress สามารถตั้งชื่อยาวๆได้ เป็นภาษาไทย ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนิยมลง Plugins เป็นวิธีที่ง่ายแต่อาจจะตามซึ่งปัญหา เมื่อ wordpress มีการอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่ ทำให้ผู้ใช้งานต้องคอยตามแก้อยู่เรื่อยๆ

มาดูวิธีแก้ไข Long URL ยาวๆ แบบไม่ต้องลง plugins กันดีกว่า โดยการแก้แบบนี้ผู้ใช้งานจะต้องสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของตัวเองได้ อาจจะทาง phpmyadmin หรือ ทาง shell

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำการแก้ไข LONG URL แบบไม่ใช้ปลั๊กอิน

  • การเข้าถึงฐานข้อมูลด้วย PHPmyadmin หรือการเข้าถึงเชลล์ Shell
  • ผู้ใช้งานต้องสามารถแก้ไขไฟล์ formatting.php ใน path wp-include ได้
  • สามารถเข้าถึงที่เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ที่ใช้งาน WordPress


1. รัน SQL Command ที่ใช้แก้ค่า post_name lenght จากค่ามาตรฐานที่ 200 มาเป็น 1000 จะใช้คำสั่งนี้

database photo

ALTER TABLE `wp_posts` CHANGE `post_name` `post_name` VARCHAR(1000) CHARACTER SET utf8mb4 COLLATE utf8mb4_unicode_ci NOT NULL DEFAULT '';'

เมื่อทำการแก้ไขแล้ว จะได้ค่า post_name อยู่ที่ 1000 ซึ่งค่อนข้างเพ่ียงพอสำหรับชื่อ URL ยาวๆภาษาไทย ใน wordpress

2. แก้ไข File formatting.php โดยมีสองส่วนที่ต้องแก้

  • $title = utf8_uri_encode($title, 200); 
    แก้จาก 200 เป็น 1000
    $title = utf8_uri_encode($title, 1000);
  • เพิ่ม $title=urldecode($title); ใต้บรรทัดที่มีคำว่า $fallback_title;

เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็สามารถตั้ง URL ภาษาไทยให้มีความยาวได้แล้วโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาปลั๊กอินทำให้เว็บทำงานช้าลง

หวังว่าการแก้ไขเพียงสามขั้นตอนง่ายๆแค่นี้ จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่ใช้งาน wordpress ภาษาไทยนะครับ

ตั้งตู้ปลาใหม่

เริ่มจากการเตรียมพื้นที่วางตู้ปลา พื้นผิวต้องเรียบและสะอาด เศษกรวดขนาดเล็กเพียงก้อนเดียวสามารถทำให้ตู้ปลาแตกได้ง่ายๆ เมื่อใส่น้ำเต็มเนื่องจากตู้จะมีน้ำหนักมากแล้วก้อนกรวดจะเป็นจุดเดียวที่รับแรงกระทำบนแผ่นกระจก ตู้ปลาแบบกระจกน้ำหนักจะลงที่ขอบตู้ จะเห็นได้ว่าขาตู้ปลาที่ขายทั่วไปจะเว้นตรงกลางไว้เพราะไม่ได้รับแรงอะไรมาก แตกต่างจากตู้ปลาอคลิลิก ตู้ประเภทนี้อันนี้อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากราคาที่สูง ตู้ปลาประเภทนี้น้ำหนักจะลงทั่วทั้งแผ่นด้านล่างไม่เหมาะจะวางบนขาที่มีขายทั่วไปที่ใช้แผ่นโฟมรองแล้วเป็นคานเลย ควรมีไม้วางเพื่อรองพื้นก่อน

ควรตั้งตู้เปล่าๆให้ได้ระดับระนาบ นอกจากเพื่อความสวยงามแล้วการตั้งตู้ปลาให้ได้ระดับเป็นการลดปัญหาตู้แตก รั่วร้าว ต่างๆได้ เนื่องจากเมื่อตู้ปลาเอียง จะทำให้กระจกด้านใดด้านหนึ่งต้องรับแรงมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลให้ซิลิโคนฉีกหรือกระจกแอ่นได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับตู้ปลาขนาดใหญ่ที่กระจกไม่ได้หนาแบบพิเศษ การตั้งตู้ให้ได้ระดับจะช่วยลดปัญหาที่ตามมาในอนาคตได้ ถ้าไม่มีอุปกรณ์ ก็สามารถใส่น้ำแล้ววัดจากขอบบน ทุกมุมทั้ง 4 มุมของตู้ไม่ควรห่างกันเกิน 1-2 เซนติเมตร

ใส่อุปกรณ์ต่างๆ เช่นกรอง ปั๊มลม หินประดับต่างๆ และทำการเติมน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน เรื่องคลอรีนนี่สำคัญมาก ควรใช้น้ำประปาที่ผ่านการกรองเอาคลอรีนออกเพราะว่าคลอรีนเป็นอันตรายกับปลา หรือสามารถรองน้ำไว้เฉยๆ คลอรีนก็สามารถระเหยไปได้เองใน 2-3 วัน สำหรับท่านที่ใช้น้ำบ่อหรือบาดาลถ้าค่า PH ได้มาตราฐาน 7-7.5 ก็สามารถใช้ได้เลย

วิธีลบไฟล์ใน Linux แบบรวดเร็ว

รู้หรือไม่ Rsync สามารถลบได้ไวกว่า rm เกิน 10 เท่า สำหรับแอดมินที่พบว่าการลบไฟล์ใน LInux หรือ Unix ด้วย rm เป็นเรื่องน่าเบื่อเพราะใช้เวลาในการลบนานมากสำหรับไดเรคตอรี่ที่มีไฟล์มากๆ

การลบด้วย Rsync

เริ่มจากการสร้าง directory เปล่าๆขึ้นมาด้วยคำสั่ง mkdir ปกติ

mkdir empty_dir

ทำการ rsync empty_dir ไปที่ directory ปลายทาง ด้วย option –delete

rsync -a --delete empty_dir/    yourdirectory/


อยากลบเร็วกว่าเดิมสามารถเปลี่ยนมาใช้ perl ได้

cd yourdirectory
perl -e 'for(<*>){((stat)[9]<(unlink))}'

Perl สามารถลบได้ไวกว่า rsync อีกระดับนีง แต่ส่วนตัวผมชอบใช้ rsync มากกว่าเพราะบางครั้งเวลาเรากดลูกศรขึ้นเพื่อเรียกคำสั่งเดิม อาจจะพลาดไปโดนคำสั่ง perl ที่เราเอาไว้ลบไฟล์ ในไดเรคตอรี่ที่เราไม่ต้องการ ทำให้ file ใน path นั้นหายไปทั้งหมด เช่นเดียวกับการใช้ rm -rf ก่อนจะใช้คำสั่งนี้ต้องเช็คให้ดีว่าเราอยู่ใน path ที่ถูกต้อง

ไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพ

การปรับสมดุลกรองชีวภาพของกรอง เพื่อการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนอะไร สามารถทำได้หลายวิธี เรามาเริ่มจากพื้นฐานกันก่อน

แอมโมเนียเป็นอันตรายต่อปลา

ของเสียที่ขับออกจากตัวปลา เช่นพวกขี้ปลา เมือกต่างๆของปลาที่ถูกขับออกมา หรืออาหารที่ปลากินไม่หมด เป็นตัวตั้งต้นของแอมโมเนียที่เกิดขึ้น แอมโมเนียพวกนี้เป็นอันตรายต่อปลาโดยตรง โดยจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของปลา โดยเฉพาะส่วนเหงือกและไต ทำให้ปลาโตช้าและมีภูมิต้านทานต่ำ

แอมโมเนียสามารถถูกกำจัดออกไปได้ด้วยแบคทีเรียดี ชื่อ Nitrosomonas sp. แบคทีเรียนี้จะอยู่บนพื้นที่ผิวภายในตู้ อาหารของมันคือแอมโนเนีย หลังจากมันทำการย่อยแอมโมเนียแล้ว สี่งที่ได้คือ ไนไตรท์ ซึ่งจะมีแบคทีเรียประเภทที่สอง Nitrobacter sp. ใช้ไนไตรท์เป็นอาหาร แล้วปล่อยไนเตรทออกมา ซึ่งจะทำให้วงจรสมบูรณ์ เพราะไนเตรทเป็นอันตรายกับปลาน้อยกว่าสองตัวที่กล่าวไปคือ ไนไตรท์และแอมโมเนียมาก

แบคทีเรียดีทั้งสองชนิด จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีแอมโมเนีย และออกซิเจน

Nitrogen Cycle สำคัญอย่างไร

ต้องมารู้จักไนโตรเจนไซเคิลก่อน ของเสียที่ออกมาจากปลาหรือเศษอาหารที่หมักหมมในตู้จะถูกย่อยสลายกลายเป็นแอมโมเนีย แล้วจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียอีกประเภทหนึ่ง เพื่อแปลงเป็นไนไตรท์ และอีกครั้งเป็น ไนเตรท

NH3 > NO2 > NO3
แอมโมเนีย > ไนไตรท์ > ไนเตรท

สารที่มีอันตรายกับปลามากคือ แอมโมเนีย NH3 และไนไตรท์ NO2 ส่วนไนเตรทจะมีอันตรายกับปลาน้อยถ้าความเข้มข้นไม่สูงมากเกินไป

ไนโตรเจนไซเคิล สร้างได้ยังไง

การเกิดไนโตรเจนไซเคิลในระบบกรองชีวภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแบคทีเรียดีที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยแบคทีเรียดีจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการให้อาหารมัน ซึ่งอาหารของมันก็คือแอมโมเนีย NH3 แอมโมเนียจะได้จากการที่ปลาขับของเสียออกหรือจากอาหารปลา ซึ่งเป็นแบคทีเรียชั้นดี เมื่อมีอาหาร แบคทีเรียจะเกิดขึ้นเองตากธรรมชาติ ตามพื้นที่ผิวที่มีในตู้ปลา เช่น ผิวตู้ หิน หัวทราย และที่มากที่สุดคือในวัสดุกรอง ที่เราจะเห็นเป็นคราบสีดำหรือสีน้ำตาล ในตู้ปลาที่ได้มีการไซเคิลแล้ว

ไนโตรเจนไซเคิลที่สมบูรณ์ต้องใช้เวลาเพราะการเปลี่ยนจาก ไนไตรท์เป็นไนเตรทก็จะต้องใช้แบคทีเรียอีกประเภทนึง ซึ่งจะกินของเสียจากแบคทีเรียชนิดแรก สิ่งที่เราทำได้ก็คือรอเวลา

โดยทั่วไประบบไนโตรเจนไซเคิลจะเข้าที่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์ที่อุณหภูมิ 25 องศา และจะช้าลงอีกถ้าน้ำมีอุณหภูมิต่ำ

ต้องใช้เวลาในการสร้างระบบกรองชีวภาพ

Nitrosomonas จะขยายตัวเป็นสองเท่าในเวลา 6 ชั่วโมง และ Nitrobacter ใช้เวลา 13 ชั่วโมง แบคทีเรียดีพวกนี้ขยายพันธ์ได้ช้ามาก ถ้าเทียบกับแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค เช่น เชื่อ E.coli ที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร จาก 1 เซลสามารถขยายเป็น 35ล้านล้านเซล ภายใน 6 ชั่วโมง

โดยปกตินักเลี้ยงปลาจะอยากเริ่มเลี้ยงทันทีแต่ไม่อยากรอ
การสร้างระบบกรองชีวภาพสามารถทำได้เลยตั้งแต่วันแรกที่เลี้ยง ไม่จำเป็นต้องรอให้ระบบกรองเข้าที่ก่อนเพื่อลงปลา แต่จะต้องทำการถ่ายน้ำใหม่เรื่อยๆ เพื่อลดระดับของเสียที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบกรองชีวภาพจะเข้าที่ โดยการไซเคิลระบบกรองแบบนี้จะใช้เวลานานมากเนื่องจากแบคทีเรียจะเกิดขึ้นได้น้อย อาจจะใช้เวลาถึง 8 สัปดาษ์ระบบถึงจะเข้าที่

ควรให้อาหารแต่น้อยในช่วงที่ระบบยังไม่เข้าที่ เพราะปลาขับของเสียตลอดเวลาทั้งทางเมือกและเหงือก แม้จะไม่ได้กินอาหาร การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้แอมโมเนียในตู้มีมากจนเป็นอันตรายต่อปลา

Image by kasiejb